Ads 468x60px

วันอาทิตย์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

การเขียนสตอรี่บอร์ด (Storyboard)

ความหมายของสตอรี่บอร์ด (Story Board)
สตอรี่บอร์ด (Story Board) คือ การเขียนกรอบแสดงเรื่องราวที่สมบูรณ์ของภาพยนตร์หรือหนังแต่ละเรื่อง โดยมีการแสดงรายละเอียดที่จะปรากฏในแต่ละฉากหรือแต่ละหน้าจอ เช่น ข้อความ ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียงดนตรี เสียงพูดและแต่ละอย่างนั้นมีลำดับของการปรากฏว่าอะไรจะปรากฏขึ้นก่อน-หลัง อะไรจะปรากฏพร้อมกัน เป็นการออกแบบอย่างละเอียดในแต่ละหน้าจอก่อนที่จะลงมือสร้างเอนิเมชันหรือ หนังขึ้นมาจริงๆ
• Storyboard คือ การสร้างภาพให้เห็นลำดับขั้นตอนตามเนื้อเรื่องที่ต้องการ โดยเฉพาะภาพเคลื่อนไหว
• รายละเอียดที่ควรมีใน Storyboard ได้แก่ คำอธิบายแต่ละสื่อที่ใช้ (ข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดิโอ)
หลักการเขียนสตอรี่บอร์ด
          รูปแบบของสตอรี่บอร์ด จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนภาพกับส่วนเสียง โดยปกติการเขียนสตอรี่บอร์ด ก็จะวาดภาพในกรอบสี่เหลี่ยม ต่อด้วยการเขียนบทบรรยายภาพหรือบทการสนทนา และส่วนสุดท้ายคือการใส่เสียงซึ่งอาจจะประกอบด้วยเสียงสนทนา เสียงบรรเลง และเสียงประกอบต่างๆ

สิ่งสำคัญที่อยู่ภายในสตอรี่บอร์ด ประกอบด้วย
- ตัวละครหรือฉาก ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่หรือตัวการ์ตูน และที่สำคัญ คือ พวกเขากำลังเคลื่อนไหวอย่างไร
- มุมกล้อง ทั้งในเรื่องของขนาดภาพ มุมภาพและการเคลื่อนกล้อง
- เสียงการพูดกันระหว่างตัวละคร  มีเสียงประกอบหรือเสียงดนตรีอย่างไร

ข้อดีของการทำ Story Board
1. ช่วยให้เนื้อเรื่องลื่นไหล เพราะได้อ่านทวนตั้งแต่ต้นจนจบก่อนจะลงมือวาดจริง
2. ช่วยให้เนื้อเรื่องไม่ออกทะเล เพราะมีแผนการวาดกำกับไว้หมดแล้ว
3. ช่วยกะปริมาณบทพูดให้พอดีและเหมาะสมกับหน้ากระดาษและบอลลูนนั้น ๆ
4. ช่วยให้สามารถวาดจบได้ในจำนวนหน้าที่กำหนด (สำคัญสุด!)
ขั้นตอนการทำ Story Board
1.วางโครงเรื่องหลัก ไม่ว่าจะเป็น Theme, ตัวละครหลัก, ฉาก ฯลฯ
    1.1  แนวเรื่อง
    1.2  ฉาก
    1.3  เนื้อเรื่องย่อ
    1.4  Theme/แก่น (ข้อคิด/สิ่งที่ต้องการจะสื่อ)
    1.5  ตัวละคร  สิ่งสำคัญคือกำหนดรูปลักษณ์ของตัวละครแต่ละตัวให้โดดเด่นไม่คล้ายกันจนเกิน ไป ควรออกแบบรูปลักษณ์ของตัวละครให้โดดเด่นแตกต่างกัน และมองแล้วสามารถสื่อถึงลักษณะนิสัยของตัวละครได้ทันที
 2.  ลำดับเหตุการณ์คร่าว ๆ
จุดสำคัญคือ ทุกเหตุการณ์จะเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน เหตุการณ์ก่อนหน้าจะทำให้เหตุการณ์ต่อมามีน้ำหนักมากขึ้น และต้องหา จุด Climax ของเรื่องให้ได้ จุดนี้จะเป็นจุดที่น่าตื่นเต้นที่สุดก่อนที่จะเฉลยปมทุกอย่างในเรื่อง การสร้างปมให้ผู้อ่านสงสัยก็เป็นจุดสำคัญในการสร้างเรื่อง ปมจะทำให้ผู้อ่านเกิดคำถามในใจและคาดเดาเนื้อเรื่องรวมถึงตอนจบไปต่าง ๆ นานา
3. กำหนดหน้า
4. แต่งบท
            เป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนลงมือวาดสตอรี่บอร์ด ควรเขียนบทพูดและบทความคิดที่จะใช้เขียนลงในหนังออกมาโดยละเอียดเพื่อที่จะได้กำหนดขนาดของบอลลูนและจัดวางลงบนหน้ากระดาษได้อย่าเหมาะสม
5. ลงมือเขียน Story Board
แบบฟอร์มการเขียนสตอรี่บอร์ดแบบต่างๆ
แบบที่ 1

แบบที่ 2

แบบที่ 3

ตัวอย่างสตอรี่บอร์ด (Story Board)

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  : วาริน ถาวรวัฒนเจริญ
http://www.krui3.com/content/865


------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สคริปรายการโทรทัศน์ความยาว นาที เรื่อง ความสำคัญของบทรายการโทรทัศน์

ภาพ
เสียง
เสียงดนตรี/Sound Effect 
Color Bar 
ตัวเลขนับถอยหลัง
Fade in 
กล้องจับที่พิธีกร
เกษรตรกรรมเพื่อชีวิต
Fade in ภาพ cuพิธีกร















Fade in ภาพ cuพิธีกร



กล้องจับภาพที่ต้นมังคุด




เสียงพิธีกร สวัสดีค่ะท่านผู้ชม 
พบกับรายการเกษรตรกรเพื่อชีวิต
มาพบกันอีกเช่นเคย วันนี้จะพูดในเรื่องเกษรตรกรรมของสวนของคุณ...............................................
ซึ่งในสวนแห่งได้ทำเกสรตรแบบใดบ้างค่ะ

คุณถนอมที่สวนของเรานะค่ะจะทำการทำสวนแบบเกษตรตามธรรมชาติโดยการให้ธรรมชาติดูแลพืชพักผลไม้ของมันเองค่ะ

เสียงพิธีกร ค่ะจะเห็นได้ว่าขั้นตอนในการปฏิบัติงานนี้เป็นขั้นตอนที่ทางคุณถนอม ทำก็ไม่แพ้ขั้นตอนอื่นเลยนะค่ะตอนต่อไปเดี๋ยวเรามาทำความรู้จักกับสวนของคุณถนอมกันเลยนะค่ะ
พิธีกรถาม
สวัสดีค่ะคุณ ไม่ทราบว่าต้นกล้วยที่ตัดมาแล้วนำไปผสมรำเอาไปทำอะไรค่ะ
คุณ..........ตอบ
อ้อเอาไปให้เป็ดมันกิน เพื่อในการเลี้ยงเป็ดจะได้ไม่เสียเงินมาทำตามแบบเศรษฐกิจพอเพียงไงล่ะ


พีธีกรพูด
ท่านผู้ชมค่ะ ตอนนี้เราต้องขอพักโฆษณาสักครู่พบกันใหม่หลังจบโฆษณานะค่ะ
เพลงสบายๆ เปิดครอเบาๆ


























ค่อยๆเพิ่มเสียงเพลงดังขึ้นเรื่อยๆ แล้ว Fade out

สคริปรายการโทรทัศน์ความยาว 15นาที

ภาพ
เสียง
เสียงดนตรี/Sound Effect
Color Bar 
ตัวเลขนับถอยหลัง
Fade in 
ภาพ CU พิธีกร

ประเภทของการเขียนบทโทรทัศน์








Fade in ภาพกราฟฟิกเกี่ยวกับการเขียนสคริป หลายๆ ภาพ เปลี่ยนตามความเหมาะสม









Fade in ภาพกราฟฟิกเกี่ยวกับการเขียนสคริป หลายๆ ภาพ เปลี่ยนตามความเหมาะสม












Fade in ภาพกราฟฟิกเกี่ยวกับการเขียนสคริป หลายๆ ภาพ เปลี่ยนตามความเหมาะสม















ภาพ CU พิธีกร





Fade in  รายชื่อทีมงานที่ร่วมผลิตรายการขึ้นจนจบ










เสียงพิธีกร สวัสดีค่ะท่านผู้ชม ต่อไปเราจะไปชมสวนและพื้นที่ทั้งหมดกันนะค่ะ ก่อนอื่นเลยเรามาถามคุณถนอมกันก่อนเลยว่าสวนแห่งนี้มีพื้นประมาณกี่ไร่ค่ะ
คุณ ถนอมพูด ........................ไร่จ๊ะ
พิธีกรถาม แล้วทำไมคุณไม่ไปทำอาชีพอื่นๆหละค่ะ เช่น ขายของ ทำงานโรงงานหละค่ะ
คุณ ถนอมพูด ไม่หละฉันชอบทำสวน กรีดยางมากกว่า มีความสุขดี
พิธีกร นำพาไปชมสวน
พิธีกรพูด
ค่ะนี่ก็คือแปลงของตะไคร้ที่คุณถนอมปลูกไว้นะค่ะ


พิธีกรพูด
ค่ะนี่ก็คือแปลงของเผือกที่คุณถนอมปลูกไว้นะค่ะ

พิธีกรพูด
ค่ะนี่ก็คือแปลงของข้าวโพดที่คุณถนอมปลูกไว้นะค่ะ







พิธีกรพูด ท่านผู้ชมค่ะตอนก็หวังว่ารายการของเราคงจะให้ความรู้ท่านไปมากเหมือนกันนะค่ะตอนเราก็ต้องไปพักโฆษณาสักครู่ เดี๋ยวกลับมาฟังคุณถนอม เล่าเหตุการณ์ที่อยากเป็นคนสวนกันนะค่ะ




พิธีกรพูด ค่ะตอนนี้เรามาถึงช่วงทุดท้ายของรายการแล้วเดี๋ยวเราไปฟังเหตุการณ์ที่อยากมาทำงานสวนกันนะค่ะ

คุณถนอมเล่าเหตุการณ์


พิธีกรพูด ค่ะวันนี้เราก็ต้องขอขอบคุณ ป้าถนอม และคุณ...........
เป็น อย่างมากที่ได้ให้ความกับเรานะค่ะเราจะได้ความรู้ที่ได้มาเผยแผร่ให้คนทั้ง ประเทศได้รู้กันนะค่ะว่าการทำเกษรไม่ได้อยากเลยถ้าคนเราอยากจะทำเราก็สามารถ ทำได้












ค่ะคุณผู้ชม คงได้สาระดีๆ จากทางรายการไม่มากก็น้อยนะครับ กลับมาพบกันใหม่กับรายการที่จะนำคุณรู้ลึกเรื่องของการทำเกสรสวนในตัวเรา กับรายการ เกรษตรกรรมเพื่อชีวิตนะค่ะ ในสัปดาห์หน้า สำหรับวันนี้ สวัสดีค่ะ......









จบ...
ดนตรีสบายๆ ค่อยๆ ดังขึ้นเรื่อยๆ แล้วFade out เปิดคลอเบาๆ







Fade in เสียงเพลงขึ้นประมาณ 15วินาที แล้ว Fade out เปิดคลอเรื่อยๆ








Fade in เสียงเพลงขึ้นประมาณ 15วินาที แล้ว Fade out เปิดคลอเรื่อยๆ













Fade in เสียงเพลงขึ้นประมาณ 15วินาที แล้ว Fade out เปิดคลอเรื่อยๆ















Fade in เสียงเพลงขึ้นประมาณ 15วินาที แล้ว Fade out เปิดคลอเรื่อยๆ







Fade in เสียงเพลงเปิดคลอเรื่อยๆ




Fade out เสียงเพลง

ที่มาไทยทีวีบีซี ช่องที่ 49 จานดำ
รายการ เกษรตรกรรม เพื่อชีวิต ที่ยั่งยืน ตอนที่ 1

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ศัพท์เทคนิคประการถ่ายภาพ ระยะ ทิศทางกล้อง และทิศทางของกล้อง
องค์ประกอบของภาพ ได้แก่ ส่วนสำคัญของภาพ หรือ Subject 
ส่วนที่อยู่ด้านหน้า Subject เรียกว่า Foreground (FG) 
ส่วนที่อยู่ด้านหลัง Subject ที่เรียกว่า Background (B.G.) 
และส่วนตัวอักษรประกอบในภาพ เรียกว่า Super

ระยะ – ทิศทางของกล้อง มักจะใช้ศัพท์ทางเทคนิคเรียกกัน ซึ่งศัพท์ทางเทคนิค ซึ่งศัพท์ที่ควรรู้จักได้แก่
ที่มาภาพ http://www.market7.com/blog/2008/08/03/shot-heard-round-the-world/

L.S. (Long Short) หมายถึง ภาพระยะไกล ซึ่งถ่ายให้เห็นสิ่งต่างๆ ในมุมกว้าง
M.S. (Mediam Short) หมายถึง ภาพในระยะปานกลาง มุมแคบเข้ามาอีกหน่อย แต่ยังเห็น Background ส่วนประกอบของภาพอยู่บ้าง ถ้าเป็นการถ่ายภาพคนจะเห็นครึ่งตัว ระดับเอวขึ้นไป
C.U. (Close – Up) หมายถึง ภาพในระยะใกล้ โคลสอัพให้เห็นเป็นเฉพาะส่วนสำคัญในภาพโดยไม่เห็นองค์ประกอบ ถ้าเป็นภาพคนจะเห็นแต่ตัวเต็มจอ
E.C.U. (Extra Close – Up) หมายถึง ภาพในระยะใกล้มาก เน้นส่วนใดส่วนหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ยี่ห้อบนหีบห่อสินค้า หรือถ้าเป็นภาพคนก็เห็นแค่บางส่วน เช่น จมูก ปาก ไม่เต็มหน้า

เทคนิคของกล้อง ศัพท์เทคนิคที่เกี่ยวกับการควบคุมกล้องถ่าย ได้แก่

Pan หมายถึง การกวาดภาพโดยตำแหน่งกล้องอยู่กับที่ แต่ตัวเลนส์ของกล้องเคลื่อนไปตามแนวนอนขนานกับพื้นดิน จากซ้ายไปขวา หรือขวาไปซ้าย
Zoom in หมายถึง การดึงภาพเข้าใกล้ เปลี่ยนระยะจาก L.S. เป็น M.S. เป็น C.U. หรือ E.C.U.
Dolly หมายถึง การกวาดภาพโดยกล้องตั้งอยู่บนลานเลื่อน แล้วเคลื่อนตามคน หรือวัตถุ เพื่อเปลี่ยนมุมมอง

การเปลี่ยนภาพ ศัพท์เทคนิคเกี่ยวกับการเปลี่ยนภาพที่ควรรู้จัก ได้แก่

Cut หมายถึง การตัดเปลี่ยนจากภาพหนึ่งเป็นอีกภาพหนึ่ง
Dissolve หมายถึง การเปลี่ยนภาพจากภาพหนึ่งเป็นอีกภาพหนึ่ง โดยค่อยๆ เบลอร์ภาพแรกให้จางหายไปพร้อมๆ กับให้ภาพซีนต่อไปค่อยๆ ปรากฎชัดเจนขึ้นแทน ซึ่งอาจใช้เทคนิคชั้นสูง หรือใช้การเปลี่ยนระยะชัดของเลนส์เพื่อเลื่อนภาพ ขณะเลื่อนภาพหนึ่งออก และเลื่อนอีกภาพหนึ่งเข้า 
หรือที่เรียกว่า Fade-out / Fade-in

Wipe หมายถึง การเปลี่ยนภาพในลักษณะค่อยๆ ลอกภาพออกคล้ายการเปิดหน้าสมุด หรือหนังสือ

Turn หมายถึง การหมุนภาพเพื่อเปลี่ยนภาพใหม่


ศัพท์เทคนิคในด้านของเสียง

Off – Scene (O.S.) หมายถึง เสียงของบุคคลที่ไม่ได้ปรากฏในรูปภาพ เช่น ซีนภาพเด็กกำลังเล่น แม่ O.S. ดุเด็ก ก็คือ ในภาพมีแต่เด็กไม่มีแม่ แต่มีเสียงของแม่สอดแทรกเข้ามาอยู่ในภาพ

Voice Over (V.O.) หมายถึง เสียงตัวแสดง หรือผู้ประกาศ ซึ่งถ้าเป็นชาย เรียกว่า MVO. (Male Voice Over) ถ้าเป็นหญิง เรียกว่า FVO. (Female Voice Over)

Sound Effect (Fx.) หมายถึง เสียงประกอบอื่นๆ เช่น เสียงนกร้อง เสียงดนตรี ฯลฯ

หลักการเขียนบทโฆษณาทางภาพยนตร์

1. การโฆษณาทางภาพยนตร์ไม่ว่าจะผ่านสื่อโทรทัศน์ หรือโรงภาพยนตร์ ล้วนมีความจำกัดจำนวนเวลา โดยเฉพาะสื่อทางโทรทัศน์ซึ่งเป็นที่นิยมสูงนั้น อัตราค่าโฆษณานับแต่ว่าจะสูงขึ้น และอัตราค่าโฆษณายิ่งสูงขึ้นมากขึ้นเท่าใด ความยาวของสปอตโฆษณาก็ดูจะยิ่งหดสั้นลงเป็นเงาตามตัว จากความยาว 30 วินาที ซึ่งนิยมใช้เป็นเกณฑ์ เดี๋ยวนี้เจ้าของสินค้าต่างหันมาใช้สปอตโฆษณา 15 วินาทีกันมากขึ้นทุกที เรียกได้ว่า แต่ละวินาทีเป็นเงินเป็นทอง ดังนั้นคำทุกคำที่ใช้ก็ต้องให้มีคุณค่าในการสร้างแรงกระทบอย่างหนักหน่วงจริงๆ ด้วย

2. พยายามสร้างแนวความคิด หรือ Concept ที่เรียบร้อย เข้าใจได้รวดเร็ว อย่าซ่อนมันไว้ภายใต้ความอลหม่านของเทคนิคพิเศษ (Special Effect) เทคนิคพิเศษ - ทำภาพพลิกแพลงด้วยคอมพิวเตอร์นั้น จะใช้ได้ผลต่อเมื่อมันสนอง Concept ที่ดีเท่านั้น ถ้าเป็นเพียงสิ่งสร้างความหวือหวาแล้วล่ะก็ ผลที่ได้อาจเป็นว่า ความหวือหวานั้นไปบดบังสิ่งที่เราต้องการสื่อถึงผู้บริโภคเสียสิ้น ทำให้โฆษณานั้นไม่ได้ผลตามที่วาดหวังไว้

3. ทางด้านภาพ ควรมีความสมดุลทั้งซ้าย - ขวา - บน - ล่าง อย่าเอียงหนักไปทางใดทางหนึ่ง สัดส่วนของสิ่งต่างๆ ให้ดูเหมือนของจริง หรือถ้าจะใช้สัดส่วนที่ผิดความเป็นจริง เช่น คนใหญ่กว่าสินค้า หรือ สินค้าใหญ่กว่าคน ก็ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมในด้าน Concept และภาพพจน์ของสินค้าว่าควรใช้สัดส่วนเท่าใดจึงจะได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ

4. ภาพโฆษณาที่ปรากฏต่อสายตาผู้ชม ไม่ควรดูราบรื่นไปเสียหมด แต่ควรจะมีความเด่นบ้าง อาจเป็นสีสัน หรือขนาดที่ดูสะดุดตา หรือ การใช้เส้นเน้น เป็นต้น แต่อย่าให้ดูขัดตา หรือซับซ้อนยุ่งเหยิงจนเข้าใจยาก

5. ควรวางทิศทางในการเคลื่อนของสายตาให้ผู้ชมดูสบาย ไม่สับสนและเข้าใจง่าย โดยกำหนดความต่อเนื่องของภาพ และอักษรที่ใช้อย่างเหมาะสม

6. ควรมีช่องว่างให้พักสายตาบ้าง อย่าพยายามยัดเยียดสิ่งต่างๆ ลงไปจนแน่น หรือดูเปรอะไปหมด

7. ควรมีเครื่องหมายการค้า และคำขวัญเป็นอักษรปรากฏ หรือที่เรียกว่า Super Line ควบคู่ในภาพยนตร์โฆษณาเสมอ

8. ควรควบคุมสีที่ปรากฏในภาพยนตร์โฆษณาให้เหมาะสมกับบุคลิกของสินค้า และได้บรรยากาศในการสร้างอารมณ์ให้ผู้ชม

9. ดนตรี และเสียงประกอบในภาพยนตร์ ควรพิถีพิถันเลือกสรรให้เหมาะกับบุคลิกของสินค้า และได้บรรยากาศที่ดีด้วยเช่นกัน สำหรับเสียงพิเศษ (Special Sound Effect) นั้น แม้จะช่วยดึงดูดความสนใจได้ แต่ก็ไม่ควรใช้พร่ำเพรื่อ เพราะอาจเป็นผลเสียมากกว่าผลดี

10. ไม่ว่าภาพ หรือเสียงในภาพยนตร์โฆษณา ควรจะได้ใจความในตัวมันเอง เพราะถ้าเปิดภาพ เปิดแต่เสียงแล้วภาพยนตร์โฆษณาเรื่องนั้นยังฟังได้เรื่องได้ราว แล้วก็ไม่ต้องห่วงผู้ชมที่ลุกไปโน่นไปนี่ นั่งดูไม่ติดที่ หรือถ้าปิดเสียง เปิดแต่ภาพแล้ว ภาพยนตร์โฆษณานั้นยังดูรู้เรื่องแล้วก็ไม่ต้องเป็นห่วงผู้ชมที่ดูไปคุยไป โดยไม่ได้ตั้งใจฟังเท่าใดนัก
ขอขอบคุณที่มา http://www.huso.kku.ac.th/thai/radio&television/homepage5/doc5_7.html
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สเลท(Slate) 
สเลท(Slate) ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของสิ่งที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์มาแต่ไหนแต่ไร เมื่อเห็นปั๊บก็จะรู้ทันทีว่า อ่อ...สิ่งนี้เกี่ยวกับหนังแน่ๆ แต่แปลกไหมครับว่า การทำหนังสั้นหนังอิสระในบ้านเราใช้สเลทกันน้อยเหลือเกิน หลายคนอาจจะยังงงๆว่า สเลทมันมีประโยชน์ยังไงนะ? ใช้ยังไงนะ? ยุ่งยากจัง! ไม่เห็นมีประโยชน์เท่าไหร่เลย!! เอาล่ะ วันนี้เราลองมาคุยเรื่องสเลทกันดีกว่า

สำหรับภาพยนตร์ สเลทเป็นเหมือนฉลากเพื่อบอกรายละเอียดของภาพที่ถ่ายมา ตัวสเลทมีก้านเล็กๆมีไว้ตีทำให้เกิดเสียง และมีกระดานตีเป็นช่องๆให้กรอกรายละเอียด ใช้ถือไว้หน้ากล้องทุกฉาก ทุกช้อต ทุกเทค ที่มีการถ่ายทำ ต้องบอกก่อนว่าหน้าตาของสเลทนั้นมีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความชอบ ความถนัดของผู้ใช้ หรือข้อตกลงกันในกองถ่าย บางครั้งสเลทอาจจะเป็นแค่ช่องโล่งๆไม่มีตัวหนังสืออะไรเลยก็ได้ ไว้สำหรับให้กองถ่ายกำหนดเอาเองเลยว่าจะใช้ยังไง

เราจะเห็นประโยชน์ ของสเลทกันอย่างชัดๆในขั้นตอนหลังการถ่ายทำ ดังนั้นสิ่งที่ผมจะเล่าต่อไปนี้ ก็เลยอยากให้ลองจินตนาการภาพตามว่า เราถ่ายหนังกันเสร็จไปเมื่อหลายวันก่อน ส่งฟุตเตจทั้งภาพและเสียงให้เพื่อนเทลงคอมฯไว้แล้ว ตอนนี้เรากำลังมานั่งล้อมวงกัน เปิดคอมฯ เปิดจอมอนิเตอร์ ถือบทหนัง ถือProduction Report ถือSound Report อยู่ในมือ มานั่งดูฟุตเตจของหนังและลงมือตัดต่อไปพร้อมๆกัน
ภาพแรกที่ปรากฏคือภาพ Slate


slate มีหน้าที่ที่สำคัญมากในส่วนของการลำดับภาพและตัดต่อเค๊อะ เพื่อที่จะรู้ว่าฟิลม์นี้ เป็นฟิลม์ที่เราต้องการใช้รึเปล่า สิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับ slate เลยก็คือ
SCENE - ฉากที่
CUT - คัตหรือช็อต ซึ่งซอยย่อยลงมาจากฉาก
TAKE - ครั้งที่เล่นในแต่ละ scene, cut เช่น เทคเดียว ก็เล่นครั้งเดียว แต่ถ้า 10 เทค ก็แสดงว่าเล่นซีนเดิมคัตเดิมมา 10 ครั้ง ตัว take ใน slate จะเป็นตัวบอกว่านี้เป็นครั้งที่เท่าไหร่
PROD./PRODUCTION
มักจะอยู่ด้านบนสุดของสเลท ใช้กรอกให้ทราบว่านี่คือ ฟุตเตจของงานอะไร หนังเรื่องอะไร บางคนอาจจะคิดว่าเอ๊ะ...ทำไมต้องเขียน ก็นี่มันหนังของเราเอง เราจะไม่รู้ได้ไง? ใช่..ถ้าคุณทำหนังเองคนเดียวก็คงไม่เป็นไร แต่ในระบบอุตสาหกรรมที่มีการถ่ายหนังกันมากมายในแต่ละวัน ส่งฟิล์มล้างกันทุกวันๆ แต่ละเรื่องก็ส่งไม่พร้อมกันทั้งหมดทีเดียว สลับกันไป สลับกันมา หรือแม้แต่การทำหนังในระบบการศึกษาที่การเปิดกล้องมักจะมากระจุกกันตอนปลายๆ เทอม ต้องจองคิวใช้ห้องตัดต่อกันแน่นแบบชั่วโมงสลับชั่วโมง เดี๋ยวรุ่นพี่ เดี๋ยวรุ่นน้อง การที่เราถ่ายสเลทและมีชื่อเรื่องแจ้งไว้อย่างชัดเจน จะเป็นการป้องกันการสับสนและผิดพลาด ลองคิดดูเล่นๆว่า ถ้าทุกชั้นปีถ่ายหนังรวมๆแล้วเทอมหนึ่งประมาณ 30 เรื่อง มีฟุตเตจเป็น100ม้วน ถ้าฟุตเตจทุกม้วนไม่มีใครใช้สเลทเลย!! จะมีโอกาสเกิดความผิดพลาดจะมีมากน้อยแค่ไหน
PROD.CO./PRODUCTION COMPANY

เป็น ช่องสำหรับเขียนชื่อ บริษัทผู้สร้างหนัง หรือบริษัทที่ผลิตงานชิ้นนั้นๆ เหมือนเป็นฉลากยี่ห้อเพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของก็ว่าได้ หรือถ้าหากมีปัญหาใดๆเกิดขึ้นจะได้รู้ว่างานดังกล่าวเป็นของบริษัทอะไร ใครเป็นผู้รับผิดชอบงาน และควรติดต่อที่ไหน สำหรับนักศึกษาบางทีก็เห็นเขียนชื่อกลุ่ม ชื่อแก๊ง หรือชั้นปี ยังไงก็ต้องทำให้คนอื่นทราบนะครับว่าแก๊งนี้น่ะคือใคร ติดต่อได้ยังไง จะได้ไม่มีปัญหาคั่งค้าง
SCENE
เป็นช่อง สำหรับเขียนเลขฉากตามสคริปท์ แน่นอนว่าการถ่ายหนังเราไม่สามารถถ่ายเรียงลำดับไปทีละฉากๆได้เสมอไป สมมุติว่าหนังของเรามี 10 ฉาก เมื่อเราเริ่มเปิดฟุตเตจดู ถ้าไม่มีสเลท เราอาจจะจำไม่ได้ว่า เอ..นี่เราถ่ายฉากไหนมาก่อนนะ แต่ถ้าเรามีสเลทและมีเลขฉากระบุไว้ว่าฉาก 5 อ่อ..เราพอจะรู้ได้คร่าวๆอย่างรวดเร็วเลยว่า ฟุตเตจของฉากนี้น่าจะอยู่ตอนกลางๆของเรื่อง เราก็ไล่ดูฟุตเตจไปเรื่อยๆ และยกฟุตเตจทั้งก้อนของแต่ละฉากๆลงมาแปะไว้ในTimeLineเรียงลำดับอย่างคร่าวๆ เป็นฉาก1 ฉาก2 ฉาก3 ...จนถึงฉาก 10 อย่าเพิ่งตัดต่อเอาหัวสเลทออกไปนะครับ มันยังมีประโยชน์
CUT/SHOT
เป็นช่องสำหรับเขียนเลขช้อต หรือเลข คัทตามสคริปท์ (ช้อตกับคัทมีความหมายเดียวกัน) ในแต่ละฉากก็จะมีช้อตซอยย่อยอยู่ในนั้น ซึ่งก็เป็นธรรมชาติของการถ่ายหนังอีกเช่นกันว่าเราไม่สามารถถ่ายเรียงลำดับ ไปทีละช้อตๆได้ เมื่อกี้เราแปะคลิปของแต่ละฉากๆไล่เรียงไว้ในTimeLineเรียบร้อยแล้วแล้ว เราลองมาดูทีละฉาก
ถ้าเราถ่ายสเลทมา เราจะมองเห็นง่ายขึ้นเลยว่าแต่ละช้อตภายในฉากหนึ่งๆจัดเรียงอยู่อย่างไร มันอาจจะยังสลับกันไปสลับกันมา เราก็เพียงแต่ดูเลขช้อตแล้วเรียงลำดับมันใหม่ซะ หนังก็จะเริ่มเรียงฉาก เรียงช้อต เห็นหน้าตาคร่าวๆของหนังกันแล้ว ตอนนี้ก็อย่าเพิ่งตัดเอาหัวสเลทออกนะ ยังต้องใช้มันอยู่
สังเกตไหม ครับว่า Slate ของภาพยนตร์มักไม่มีช่องของ Cut หรือ Shot เพราะในการถ่ายภาพยนตร์ขนาดยาวๆ นั้น เราอาจจะไม่ได้แบ่งการถ่ายทำเป็น Cut หรือ Shot ชัดเจนแบบหนังสั้นหรือหนังโฆษณา แต่ผู้กำกับจะรู้ว่าวันนี้เรากำลังจะถ่ายอะไร ในSceneนี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง แล้วใช้วิธีไหลไปตามอารมณ์ที่เหมาะสม อาจจะถ่ายหลายมุม หลายขนาดภาพ หลายtake หลายรูปแบบการแสดงไว้เลือกใช้ แล้วเดี๋ยวค่อยมาตัดต่อเป็น Cut ย่อยๆทีหลังในขั้นตอนPost วิธีนี้จะทำให้คนตัดต่อมีอิสระในการตัดต่อมากขึ้น โดยที่เขาจะพิจารณาการตัดสลับเอาเองใหม่ ด้วยวิจารณญาณตรงนั้น ซึ่งจะทำให้ได้ผลงานที่ออกมามีความกลมกลืนลื่นไหลมากกว่าที่จะไปกำหนดเป็น cut หรือ shot ตั้งแต่ตอนถ่ายทำ แต่บอกก่อนว่า วิธีนี้เป็นวิธีที่สิ้นเปลืองและเสียเวลามากกว่า
TAKE
เป็น ช่องสำหรับเขียนเลขเทค จะมากจะน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนการถ่ายซ้ำ การถ่ายทำแต่ละช้อตบางครั้งก็จะมีหลายๆเทค ในการตัดต่อเราจะต้องใช้ Production Report (เอกสารรายงานการถ่ายทำ)มาประกอบ ว่าเทคไหนที่เราจะเลือกใช้ การทำงานจะง่ายถ้าเราได้ตัดสินใจตั้งแต่วันออกกองแล้วว่าเราเลือกใช้เทคไหน เมื่อดูตามProduction Report เราก็จะเริ่มตัดต่อเก็บไว้เฉพาะเทคที่เราเลือกใช้ เทคที่เสียก็ตัดทิ้งออกไป คราวนี้หนังก็จะเรียงฉาก เรียงช้อตที่เลือกเทคแล้ว และเห็นเป็นรูปเป็นร่างชัดเจนมากขึ้นแล้ว และเหมือนเดิม...อย่าเพิ่งตัดเอาหัวสเลทออกนะครับ
ROLL
เป็น ช่องสำหรับเขียนเลขม้วน สมมุติว่าเรานั่งตัดต่อหนังขั้นละเอียดไปซักพักแล้วดันเห็นว่า ช้อตที่เราเลือกดันมีเฟรมดร็อปหรือมีความผิดพลาดของการเทสัญญาณภาพจากเทปลง เครื่องตัดต่อ เราต้องเทภาพฟุตเตจลงไปใหม่ เราก็แค่ไปเช็คดูในไฟล์ฟุตเตจว่าภาพที่เราต้องการนี้มันอยู่ในม้วนเทปที่ เท่าไหร่ แล้วเอามาเทลงใหม่ แค่นี้เอง ลองคิดดูนะว่าถ้าเราไม่ได้ถ่ายสเลทมา อาจจะต้องปวดหัวกับการนึกเองว่า เอ...เทคนี้ ช้อตนี้ ฉากนี้ มันอยู่ในเทปม้วนไหนนะ
INT./EXT.
ย่อมาจาก Interior/Exterior หมายถึง ฉากภายใน/ฉากภายนอก ภายในหรือภายนอกนี้ไม่ได้อิงจากสถานที่ถ่ายทำ(Location)นะครับ แต่อิงจากภายในหรือภายนอกตามบท เพราะบางครั้งเราถ่ายภายในสตูดิโอก็จริง แต่เราเซ็ทฉากเป็นริมถนน เป็นป่า เป็นสุสานก็ได้นี่ครับ วิธีใช้งานก็คือวงให้เห็นชัดเจนว่ามันคือฉากภายในหรือภายนอก ไม่ควรใช้วิธีขีดเส้นใต้หรือขีดฆ่าตัวที่เราไม่ต้องการ เพราะจะทำให้สับสนได้ง่าย แต่ถ้าสเลทบางตัวไม่ได้พิมพ์อักษรไว้ให้เราวง ก็กรอกคำว่า INT. หรือ EXT. ได้เลยครับ
D./N.
ย่อมาจาก Day/Night หมายถึง กลางวัน/กลางคืน เช่นกัน เราไม่ได้อิงจากเวลาถ่ายทำจริง แต่อิงจากเวลาตามบท เพราะบ่อยๆครั้งที่เราจัดแสงหลอกเวลาได้ หรือถ่ายกลางวันไปแก้สีเป็นกลางคืน(Day for Night) การระบุเวลาในสเลทจึงเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการทำงานในขั้นตอนPost วิธีใช้งานก็คือวงให้เห็นชัดเจน แต่ถ้าสเลทไม่ได้พิมพ์อักษรไว้ ก็กรอกอักษร D หรือ N ลงไปได้เลย
SOUND 
เป็นช่องสำหรับเขียนราย ละเอียดเกี่ยวกับเสียง ว่าการถ่ายทำในฉาก ช้อต และเทคนั้นๆ บันทึกเสียงหรือไม่ อย่างไร ถ้ามีการบันทึกเสียงก็นิยมเขียนว่า Sync ถ้าไม่มีการบันทึกเสียงนิยมเขียนว่า MOSแต่ถ้าสเลทบางมีตัวอักษร ก็ใช้วิธีวงล้อมรอบ
การเขียนสเลทในช่องนี้สำคัญมากในกรณีที่บันทึกเสียง แยกกับการบันทึกภาพ แต่ถ้าเป็นการบันทึกเสียงลงไปพร้อมกับภาพในม้วนเทปเดียวกันแล้วก็ไม่มีปัญหา ทีนี้สมมุติว่าฟุตเตจที่เรากำลังตัดต่อกันอยู่เป็นการถ่ายทำแบบบันทึกเสียง แยกกับการบันทึกภาพ แน่นอน...เราจะได้เห็นในช่องsoundเขียนว่า Sync และเห็นภาพก้านสเลทตีลงมากระทบกับตัวแผ่นสเลทตอนเริ่มถ่ายทำ แต่แน่นอนตอนนี้มันยังเงียบสนิท
คราวนี้เราต้องไปดูที่ฟุตเตจเสียงกัน บ้างแล้ว สมมุติว่าเราเริ่มตัดต่อที่ฉาก1 ช้อต1 เทค4 ช่องsoundเขียนว่าSync มีการตีสเลท เราต้องไปดูที่เอกสาร Sound Report ว่าเสียงของฉาก1 ช้อต1 เทค4 มันอยู่ตรงไหน แล้วเราก็เลือกมันลงมา
คลิปภาพและเสียงจะถูกนำมาวาง ให้ตรงกัน โดยอาศัยดูจากเฟรมภาพที่ก้านสเลทกระทบกับแผ่นกระดานวางให้ตรงกับเวฟของเสียง แป๊ก!!พอดี หนังของเราก็จะเรียงฉาก เรียงช้อต เลือกเทค และมีเสียงขึ้นมาแล้ว.... ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามที่เราต้องการ คราวนี้เราถึงจะตัดหัวเสลทออกไปได้
เราเรียกการตัดต่อในระดับนี้ว่าการตัดหยาบ (Rough Cut) 

DIRECTOR
เป็น ช่องสำหรับเขียนชื่อผู้กำกับ สำหรับช่องนี้คงไม่ต้องบอกอะไรมาก ใครๆก็รีบเขียนช่องนี้กันอยู่แล้ว มันก็เหมือนเป็นการบอกยี่ห้อและเจ้าของหนัง แต่บางครั้งหนังเรื่องหนึ่งก็ถ่ายโดยใช้ผู้กำกับหลายคน เราจะได้รู้ว่าผู้กำกับคนไหนกำกับในฉากอะไร ช้อตอะไร และกรณีที่ผู้กำกับไม่ได้ตัดต่อเอง เมื่อคนตัดต่อมีปัญหาหรือข้อสงสัยเกิดขึ้น จะได้ติดต่อหรือแจ้งกับผู้กำกับคนนั้นๆได้ทันที
CAMERAMAN / D.P.
 เป็น ช่องสำหรับเขียนชื่อผู้กำกับภาพหรือตากล้อง ประโยชน์ของช่องนี้ดูจะสำคัญมากกว่าชื่อผู้กำกับซะอีก เพราะงานของผู้กำกับภาพมักจะซับซ้อนและละเอียดอ่อน เช่น ชดเชยแสงมามากน้อยแค่ไหน, ถ่ายเป็นDay for Nightรึเปล่า, แสงที่จัดออกมาต้องการให้แก้สีหรือไม่, อยากให้ดูเป็นภายในหรือภายนอก ฯ ซึ่งถ้าหนังเรื่องหนึ่งมีตากล้องหลายคน วิธีการทำงานก็จะหลากหลายออกไป เมื่อคนตัดต่อมีปัญหาหรือข้อสงสัย จะได้ติดต่อกับตากล้องได้ทันทีเหมือนกัน
DATE
เป็น ช่องสำหรับเขียนวันที่ที่ถ่ายทำ ตัวเลขพวกนี้จะเชื่อมโยงถึงกันหมด ถ่ายวันไหน ถ่ายเรื่องอะไร ฉากอะไร ช้อตอะไร ม้วนเทปที่เท่าไหร่ ซึ่งจะตรงกับในProduction Report และ Sound Report ด้วย ถ้าเกิดความผิดพลาดขึ้น เราจะสามารถเช็คได้ง่ายๆว่าอะไรอยู่ตรงไหน

ขอขอบคุณ
ที่มา : http://openupmedia.blogspot.com/2010/09/blog-post_15.html

2 ความคิดเห็น: