John B. Watson (1878-1958) พฤติกรรม ซึ่งเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า พฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้เชื่อว่าจะทราบ ถึงเรื่องราวของจิตได้และยังเป็นการแสดงออกในรูปของการกระทำหรือพฤติกรรม ซึ่งสังเกตเห็นได้โดยตรงจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 หรือออาจใช้เครื่องมือ วัดช่วยในการสังเกต
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2544) กล่าวว่า ความคิดพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม
1.พฤติกรรมทุกอย่างเกิดขึ้นโดยการเรียนรู้และสามารถจะสังเกตได้
2.พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของการเรียนที่เป็นอิสระหลายอย่าง
3.แรงเสริม (Reinforcement) ช่วยทำให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้
นักจิตวิทยาได้แบ่งพฤติกรรมของมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. พฤติกรรมเรสปอนเดนต์ (Respondent Behavior)
หมายถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้าเมื่อมีสิ่งเร้าพฤติกรรมตอบสนองก็จะเกิดขึ้น ซึ่งสามารถจะสังเกตได้ ทฤษฎีที่อธิบายกระบวนการเรียนรู้ประเภทนี้ คือ ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory)
2. พฤติกรรมโอเปอแรนต์ (Operant Behavior)เป็นพฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน และพฤติกรรมนี้มีผลต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนทฤษฎีการเรียนรู้ที่ใช้อธิบาย Operant Behavior เรียกว่า ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory) ซึ่งทฤษฎีนี้เน้นว่าต้องการให้ Operant Behavior คงอยู่ตลอดไป
สรุปทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม ( Behaviorism )
กลุ่มพฤติกรรมนิยม (BEHAVIORISM) เป็นการศึกษาพฤติกรรมที่สามารถสังเกตภายนอกได้ และเน้นความสำคัญของสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมทุกอย่างจะต้องมีสาเหตุสาเหตุนั้นมาจากวัตถุหรืออินทรีย์ซึ่งเรียกสิ่งเร้า(Stimulus) เมื่อมากระตุ้นอินทรีย์จะมีพฤติกรรมแสดงออกมาเรียกว่าการตอบสนอง
ซึ่งก็คือพฤติกรรม
อ้างอิง
กันยา สุวรรณแสง. (2532). จิตวิทยาทั่วไป.กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์ บำรุงสาส์น.
สุรางค์ โค้วตระกูล. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2544.
กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์.(ออนไลน์).(http://www.tumcivil.com/engfanatic/board/gen.php?topic_id=13741&hit=1)
ซึ่งก็คือพฤติกรรม
อ้างอิง
กันยา สุวรรณแสง. (2532). จิตวิทยาทั่วไป.กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์ บำรุงสาส์น.
สุรางค์ โค้วตระกูล. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2544.
กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์.(ออนไลน์).(http://www.tumcivil.com/engfanatic/board/gen.php?topic_id=13741&hit=1)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น